ภาพแรก เป็นรูปของ “เฟิร์นก้านดำ” ริมทาง ผมเจอมันตอนเดินเท้าขึ้นดอยขุนตาล ความงามของมันโดดเด่นมากกว่าวัชพืชและต้นไม้รก ๆ ที่อยู่แถบเดียวกัน และผมมักจะพบมันในพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เฟิร์นก้านดำต้นนี้ที่ผมชอบ เพราะมันมีใบที่สมบูรณ์ ยาวจรดพื้นและเขียวชุ่มฉ่ำด้วยหยดน้ำบนใบ
เทคนิค : ผมใช้ Mode การถ่ายภาพระยะใกล้(ระบบมาโคร) (MACRO)โดยเลือกที่ Mode ถ่ายภาพบุคคล(PORTRAIT)และเลือกปุ่มที่เป็นรูปดอกไม้ ถ่ายโดยไม่ใช้แฟลช จะทำให้ได้ภาพ แบบหน้าชัด หลังเบลอ ทำให้ภาพมีมิติมากขึ้น เป็นเทคนิคง่าย ๆ สำหรับมือใหม่อย่างผม ก่อนที่ผมจะลงมือกดชัตเตอร์ ผมได้ทำการจัดองค์ประกอบภาพ(ART COMPOSITION)) เป็นเส้นเฉียง โดยให้โคลนต้นอยู่มุมซ้ายด้านบนและปลายใบอยู่มุมขวาด้านลง เพียงเท่านี้ผมก็ได้เฟิร์นก้านดำสวย ๆ แล้ว
ภาพนี้เป็น ภาพวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นมากมายอยู่กับพื้นดิน ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเป็นต้นอะไร แต่ผมเห็นว่ามันมีดอกที่แปลกดี ไม่เคยเห็นมาก่อนก็เลยถ่ายเก็บเอาไว้
เทคนิค : ภาพนี้ก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่ใช้ Mode ถ่ายภาพระยะใกล้(ระบบมาโคร) (MACRO)โดยเทคนิคในการ โฟกัสภาพให้ชัด คือ ให้กดชัตเตอร์ค้างไว้ครึ่งนึง สัก 2 – 3 วินาที ให้กล้องมันจับโฟกัสให้ได้ก่อน แล้วจึงกดเพื่อถ่ายภาพ เมื่อเห็นว่าจุดที่เราต้องการจะ โฟกัสชัดแล้ว จะเห็นได้ว่าผมตั้งใจจะโฟกัสให้กลางภาพชัดและขอบภาพเบลอ เพื่อให้ภาพมีมิติ น่าสนใจ แต่จุดประสงค์ที่ผมถ่ายภาพนี้คือ ต้องการเห็น DETAIL ของดอกไม้เล็ก ๆ ที่อยู่ตรงยอดใบ ผมว่าเป็นดูน่ารักแปลกตาดีถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงวัชพืชก็ตาม